บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2017

ติวเตอร์เฉพาะทาง ตอนกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ

กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ      ขั้นตอนการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้      1 การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำการวิจัย (Research atopic) ในขั้นตอนแรก ผู้วิจัยจะต้องตกลงใจให้แน่ชัดเสียก่อนว่า จะวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งก็จะต้องขอความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา เสียก่อนว่า หัวข้อเรื่องที่จะทำการวิจัยมีความเกี่ยวโยงหรือเหมาะสมกับผลงาน ที่จะทำการวิจัยหรือไม่ อย่างไร      2 การกำหนดปัญหาในการวิจัย (Formulating the Research Problems) เป็นการตั้งปัญหาในเรื่องที่ต้องการวิจัยเพื่อหาคำตอบ หรือเป็นการแจกแจงวัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยต้องกำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจนและเป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้ เป็นสำคัญ          3 การสำรวจวรรณกรรม (Extensive Literature Survey) เป็นการทบทวนเอกสารต่างๆ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กลับหัวเรื่องที่ต้องการศึกษา เพื่อหาแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และสำรวจให้แน่ใจ ว่า ไม่วิจัยผลงานซ้ำกับผู้อื่น ทั้งนี้การวิจัยควรเน้นการเสริมสร้าง ให้เกิดความรู้ใหม่ การสำรวจวรรณกรรม จะช่วยให้ผู้วิจัยทราบว่า เรื่องดังกล่าวเคยมีผู้อื่นศึกษามาแล้วหรือไม่อย่างไร

ติวเตอร์เฉพาะทาง ตอน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

     กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือบรรดาข้อบังคับ ที่ถูกตั้งขึ้น ให้บรรลุ เป้าหมาย อย่างหนึ่งอย่างใดในสังคม เพื่อให้สังคมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คำสั่งหรือข้อบังคับนั้น      ลักษณะของกฎหมาย เราสามารถแยก ลักษณะของกฎหมายแบ่งออกได้เป็น 5 ประการคือ 1 กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ 2 กฎหมายต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ หรือผู้ที่กฎหมายให้อำนาจไว้ 3 กฎหมายต้องใช้บังคับ ได้โดยทั่วไป 4 กฎหมายต้องใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง 5 กฎหมายจะต้องมีสภาพบังคับ      ที่มาของกฎหมาย มีดังนี้ 1 ศีลธรรม 2 จารีตประเพณี 3 ศาสนา 4 คำพิพากษาของศาล 5 หลักความยุติธรรม ( Equity) 6 ความคิดของนักปราชญ์            ระบบกฎหมายในโลกนี้มี 4 ระบบใหญ่ๆด้วยกันคือ 1 ระบบกฎหมาย (civil law)หรือกฎหมายลายลักษณ์อักษร 2 ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (common Law) หรือระบบกฎหมายจารีตประเพณี 3 ระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law ) จุดกำเนิดของระบบนี้อยู่ที่รัสเซีย 4 ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม      วิวัฒนาการของกฎหมายในประเทศไทย เดิมกฎหมายของประเทศไทยนั้น มีที่มาจากจารีตประเพณีศาสนารวมไปถึงพระราชโองการของพระมหากษัตริย์ ในสม

ติวเตอร์ เฉพาะทาง ตอน กฎหมายระหว่างประเทศ

    กฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 สาขาดังนี้ 1 กฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมือง 2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล 3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา     กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ประกอบด้วย บุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองมีดังนี้ 1 รัฐ เป็นบุคคลดั้งเดิม หรือเป็นบุคคลหลักในกฎหมายระหว่างประเทศ มีสิทธิและหน้าที่สมบูรณ์ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ 2 องค์การระหว่างประเทศ เป็นบุคคลระดับรองในกฎหมายระหว่างประเทศ 3 ปัจเจกชน ไม่มีสิทธิ ความรับผิดชอบ และใช้สิทธิในระหว่างประเทศได้ ยกเว้นในบางกรณี ที่มีขอบเขตจำกัดอย่างมาก 4 บรรษัทข้ามชาติ ไม่ได้รับการยอมรับว่ามีสภาพเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ แต่มีสถานะเป็นเพียงบุคคลตามกฎหมายภายในเท่านั้น     กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล หมายความถึงกฎเกณฑ์ ที่ใช้ในความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชนต่อเอกชน หรือกฎเกณฑ์ที่กำหนด สิทธิและหน้าที่ ของคนต่างด้าว ในดินแดนของรัฐอีกรัฐหนึ่ง      บ่อเกิดกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลมีดังนี้ 1 บ่อเกิดหรือที่มาจากภายในประเทศ ได้แก่ กฎหมายลายลักษณ์อักษร 2 สิทธิและฐานะคนต่างด้าว จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ ทั้งทา

ติวเตอร์ เฉพาะทาง ตอนกฎหมายมหาชน

กฎหมายมหาชน เป็นเรื่องความคิด ในการแบ่งแยก สาขาของกฎหมาย ออกเป็น กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนซึ่งกฎหมายมหาชนนั้นอาจเกิดมาจาก กฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี หรือทฤษฎีทางวิชาการ ด้านต่างๆ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโรมันโบราณ เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสตศักราช เห็นได้ชัด ในประเทศภาคพื้นทวีปยุโรป แต่ไม่สู้จะมีความสำคัญนักเพราะเป็น กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐกับประชาชน (ราษฎร) จนกระทั่ง อันเปียน ( Ulpion)ได้อธิบายว่า กฎหมายมหาชนคืออะไร และได้มีการจัดทำ กฎหมายปกครองขึ้นในยุคคลาสสิก จึงได้มีบทบาทสำคัญขึ้น และเริ่มเสื่อมลงอีกครั้ง เมื่อสิ้นสมัย ของพระเจ้าจักรพรรดิ justinian ต่อมากฎหมายมหาชน รุ่งเรือง และพัฒนามามากในประเทศฝรั่งเศส เมื่อคริสตศักราช 1789 ได้มีการจัดตั้งสภาแห่งรัฐขึ้น ทำหน้าที่เป็นศาลปกครองสูงสุด ในเวลาต่อมา และสำหรับในประเทศ ที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ ไม่มีการแบ่งแยก สาขาของกฎหมาย ออกเป็นกฎหมายมหาชนและเอกชน เด็ดขาดจากกัน และในปัจจุบัน กฎหมายมหาชน ก็มีการแบ่งออกเป็น เช่นกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เช่นกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายปกครอง เช่

เฉพาะทาง รัฐประศาสนศาสตร์

 รัฐประศาสนศาสตร์ ในความหมายของแนวคิดและทฤษฎี ต่างกันอย่างไร      แนวคิด (Concept)นั้น เกิดขึ้นโดยการสังเกต การเปรียบเทียบ ความคล้ายกัน และความแตกต่าง ซึ่งอาจเป็นความแตกต่าง ในสิ่งที่นึกคิด ความเชื่อ มุมมองหรือมโนคติ ด้านต่างๆของนักคิดนั้น หรือบุคคลอื่นใดก็ตามแล้วนำมาประยุกต์ หรือบูรณาการ โดยการเสนอแนะ หรือเข้าร่วม อาจเป็นข่าว หรือเป็นบทความ ซึ่งแนวคิดนั้น อาจจะถูกหรือผิดก็ได้   ทฤษฎี (Theory) หมายถึง การกำหนดข้อสันนิษฐาน เกิดขึ้นอย่างมีระเบียบมีหลักเกณฑ์ ซึ่งได้รับวิธีการมาจาก สหวิชาการ ทำให้เกิดกฎเกณฑ์ ที่ได้รับมาจากแนวความคิด จากการค้นคว้า การทดลอง โดยใช้เหตุผลเป็นพื้นฐาน และนำผลที่เกิดขึ้น นั้นมาใช้ เป็นหลักเกณฑ์ตลอดไป

กฎหมายพื้นฐานทั่วไป

 สวัสดีครับ พี่อุ๊สุทธิ ปัจจุบันนี้ผมได้ website ของ Blogger  ที่จะนำมาใช้เป็นการเรียนการสอนรายวิชานิติศาสตร์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎุหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายมหาชน เป็นต้น