บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017

หลักของการดำเนินการวิจัย

ความหมายของการวิจัย          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของการวิจัยคือการสะสม การรวบรวม การค้นคว้า เพื่อหาคำตอบอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา มาเรียม นิลพันธุ์ (2545:9) ได้ให้ความหมาย ของการวิจัยว่าคือ กระบวนการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบเชื่อถือได้ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคำถามการวิจัย ผลที่ได้สามารถนำไปแก้ไขปัญหาพัฒนาองค์ความรู้         โดยที่รัฐประศาสนศาสตร์เป็นองค์ความรู้ว่าด้วยการบริหารรัฐกิจ (ปฐมมณีโรจน์2547) ดังนั้นการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ก็คือการศึกษาหาความรู้เพื่อให้พบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการบริหารรัฐกิจอย่างมีแบบแผนตามวิธีวิทยาศาสตร์          สรุปการวิจัยคือกระบวนการแสวงหาความรู้ที่เป็นระบบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคำถามการวิจัยและการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์คือ กระบวนการแสวงหาความรู้ทางด้านการบริหารภาครัฐด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีหลักการดังข้อต่อไปนี้        1.ปัญหาการวิจัย การกำหนดปัญหาการวิจัยเป็นขั้นแรกของกระบวนการวิจัย ซึ่งการกำหนดปัญหาหรือการเลือกหัวข้อสำหรับการทำวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบนั้นเป็นเรื่อ

ติวเตอร์เฉพาะทางตอนแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ

รูปภาพ

ติวเตอร์เฉพาะทางตอน แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ

การศึกษาเรื่อง “ การนำนโยบายพัฒนาสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลไปปฏิบัติ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี ” ในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาจากตำรา เอกสารทางวิชาการ บทความ วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และงานวิจัยในประเด็นต่าง ๆ โดยมีสาระสำคัญตามลำดับดังนี้                          1 .   แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ                          2 . แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและการวัดความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ                          3 .   แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสำเร็จในการนำนโยบายพัฒนาสังคมไปปฏิบัติ                          4 .   แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายพัฒนาสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบล                            5 .   งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง       1.             แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ                            1.1     ความหมายของนโยบายและนโยบายสาธารณะ                                   มีผู้ศึกษาได้ให้ความหมายของคำว่า   “ นโยบาย ” (Policy) และ “ นโยบายสาธารณะ ”

ติวเตอร์เฉพาะทางตอนผลการวิเคราะห์ข้อมูลของนโยบายพัฒนาสังคม

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล                          ผลจากการศึกษาการนำนโยบายพัฒนาสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลไปปฏิบัติในพื้นที่ 6 อำเภอในจังหวัดปทุมธานี ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคณะผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 106 คน และกลุ่มพนักงานทุกระดับขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 238 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 344 คน ต่อมาได้นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดตรวจสอบความถูกต้องแล้วนำไปวิเคราะห์ทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์       โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งปรากฏผลโดยการนำเสนอดังต่อไปนี้                          การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น   4   ส่วน ดังนี้                          ส่วนที่ 1    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง ในการนำนโยบายพัฒนาสังคมขององค์บริหารส่วนตำบลไปปฏิบัติในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี                          ส่วนที่ 2    ผลการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายพัฒนาสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลไปสู่การปฏิบัติ        ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความสำเร็จของการนำนโยบายพัฒนาสัง